วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562

บันทึก Urine Macro Albumin หน้าบัญชี 1 ส่งไม่ออกทำอย่างไรดี


    เคยเจอกันบ้างรึป่าวครับ บันทึกผล Urine Macro Albumin หน้าบัญชี 1 เพื่อเก็บความครอบคลุม แต่เวลาส่งออก 43 แฟ้ม พบว่าในแฟ้ม LABFU ไม่มีรหัส LAB 0440203(Urine Macro Albumin) ส่งออกมา มาดูวิธีการแก้ไขกันครับ

1.ให้เปิด Tool ส่งออก 43 แฟ้มแล้วไปที่หน้าส่งออก 43 แฟ้ม
2. คลิกที่แท็บ Data Mapping 1 และ 2 ตามภาพ


3. คลิกที่ dropdown ด้านบน เลื่อนให้เจอปุ่ม LAB Value Map ตามภาพ

4. กดปุ่ม เพิ่ม ด้านบน หา LAB Urine Macro Albumin (แล้วแต่ตั้งชื่อในแต่ละสถานบริการ)

5. ตั้งค่าผล LAB ตามภาพ กดบันทึก

6. ลองบันทึกค่าผล lab หน้าบัญชี 1 ตามปกติ

7. ลองส่งออก 43 แฟ้มดูครับ ส่งเสร็จแฟ้ม LABFU จะต้องมีรหัส 0440203 ส่งออกมา







วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

รายงานจำนวนผู้รับบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่จำแนกตามกลุ่มผู้รับบริการ


     คงต้องมาศึกษากันถึงรายละเอียดการนับรายงานในข้อนี้ เพราะถ้าไม่ศึกษาอาจจะต้องมีคำถามต่อมาภายหลังว่า ทำไมฉีดไปแล้วผลงานไม่ขึ้น ทำถูกต้องหมดทุกอย่างแล้ว จะให้ทำยังงัยอีก 5555 รายงานในข้อนี้แยกออกได้เป็น 7 กลุ่มดังนี้

กลุ่มเป้าหมาย นับจากผู้รับบริการที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่รหัส 815

1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
      จะให้ผลงานขึ้นในข้อนี้ คนที่ได้รับการฉีดจะต้องมีชื่ออยู่ในแฟ้ม PROVIDER ของหน่วยบริการ (ลองให้ไอทีตรวจสอบครับว่าข้อมูลที่จำเป็นต้องมี บันทึกกันครบแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ครบถ้วนข้อมูลจะไม่ถูกส่งออก อาจมีผลตามมาว่าฉีดแล้วทำไมถึงไม่ขึ้น

2.หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
      ในข้อนี้หญิงตั้งครรภ์จะต้องมีข้อมูลในแฟ้ม ANC ด้วย และจะเอา GA มาคำนวณหาผลต่าง นับอายุครรภ์ที่ 4 เดือน ถึง 10 เดือน

3.กลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 2 ปี
      กลุ่มนี้นับอายุ ณ วันรับบริการ มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 35 เดือน

4.กลุ่มโรคเรื้อรัง
     ในกลุ่มนี้คงต้องเอาผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคต่อไปนี้เข้าในทะเบียนคลินิกพิเศษ เพราะนับรายงานจากผู้ป่วยที่มีชื่ออยู่ในแฟ้ม CHRONIC และ DATE_DX (วันที่ตรวจพบครั้งแรก) ก่อนวันให้บริการวัคซีน
4.1 ปอดอุดกั้นเรื้อรัง รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก =J44
4.2 หอบหืด รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก =J45
4.3 หัวใจ  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง I20 ถึง I25
4.4 หลอดเลือดสมอง  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง I60 ถึง I69
4.5 ไตวาย  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง N17 ถึง N19
4.6 ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด  เคยมีการวินิจฉัยในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง C00 ถึง C97 และวันที่วินิจฉัยต้องก่อนหรือเท่ากับวันรับบริการวัคซีน (คีย์รหัส C ในวันที่รับบริการวัคซีนได้)
4.7 เบาหวาน   รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง E10 ถึง E14
4.8 ธาลัสซีเมีย  เคยมีการวินิจฉัยในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก =D56 และวันที่วินิจฉัยต้องก่อนหรือเท่ากับวันรับบริการวัคซีน (คีย์รหัส C ในวันที่รับบริการวัคซีนได้) 
4.9 HIV  เคยมีการวินิจฉัยในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง B20 ถึง B24   หรือ รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง D80 ถึง D89 และวันที่วินิจฉัยต้องก่อนหรือเท่ากับวันรับบริการวัคซีน (คีย์รหัส C ในวันที่รับบริการวัคซีนได้) 

5. ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป (ไม่นับ  65 ปี)
    กลุ่มนี้นับอายุ ณ วันรับบริการ มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

6. ผู้พิการทางสมอง
    ผู้รับบริการกลุ่มนี้ต้องมีชื่อในแฟ้ม DISABILLITY ประเภทความพิการอยู่ในกรอบสีแดง


7. ผู้ป่วยโรคอ้วน
    กลุ่มนี้มีการใช้ 2 แฟ้มร่วมด้วยคือ DIAGNOSIS_OPD คือ เป็นผู้ที่เคยมีการวินิจฉัยโรคด้วยรหัส 3 ตัวแรกขึ้นต้นด้วย E66  และแฟ้ม NCDSCREEN  โดยดูที่น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ ค่า BMI >35 

กลุ่มอื่นๆ
   คือผู้ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่อยู่ในกลุ่มที่กล่าวมาทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการรณรงค์วัคซีนไข้หวัดใหญ่



   ก่อนการรณรงค์และให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ลองมาตรวจสอบรหัสวัคซีนกันครับ ว่าพร้อมแล้วหรือยัง ตารางที่ใช้คือ person_vaccine  รหัสวัคซีนตัวที่จะใช้รณรงค์คือ 815




สำหรับหน้าจอบริการที่จะใช้บันทึก สำหรับ PCU จะเป็นหน้า onestop service  แต่ก่อนให้บริการควรบันทึกข้อมูล lot วัคซีนให้เรียบร้อยก่อน โดยไปที่


 หลังจากบันทึก lot no. เรียบร้อยแล้ว ให้เรียกคนไข้เข้ารับบริการ ใส่รหัสการวินิจฉัยให้เรียบร้อย (ICD10 = Z251) เป็น priciple dx  จากนั้นให้คลิกที่ tab vaccine  ใส่ข้อมูลวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และกดบันทึกให้บริการ

หลังจากที่บันทึกคนรับบริการหมดแล้ว ทีนี้ก็ส่ง 43 แฟ้มปกติ ให้ตรวจสอบข้อมูลในแฟ้ม diagnosis_opd และ แฟ้ม epi หลังส่งเสร็จ ว่ามีข้อมูลส่งออกมาครบหรือไม่







วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กองทุนแผนไทย สปสช เขาจ่ายเงินจากการให้บริการอะไรบ้าง


     จบไปอีก 1 ปี สำหรับปีงบประมาณ สปสช ในปีงบฯ 62 เริ่มจะเห็นมีการปรับตัวกันบ้างกับการให้บริการแผนไทย เพื่อขอเงินชดเชยในการให้บริการ  โดยข้อมูลที่จะได้รับจัดสรรเงิน ขึ้นอยู่กับข้อมูล 43 แฟ้ม ที่ส่งเข้าเว็บ https://op.nhso.go.th/op/main/MainWebAction.do   ไม่ใช่ข้อมูลที่ขึ้นหน้ารายงาน HDC  แต่ รายงานหน้า HDC สามารถทำให้เรา monitor ข้อมูลได้ว่าผลงานเป็นอย่างไร ก่อนส่งเข้า สปสช ทีนี้มาดูกันว่า สปสช เขาจ่ายเงินจากการให้บริการอะไรบ้าง

1. การให้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร

เงื่อนไขสำหรับการให้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร
1.1 ต้องเป็นผู้มีสิทธิ์ UC 
1.2 เป็น OPD Case รวมถึงการให้บริการในชุมชน 
1.3 มีการวินิจฉัยโรค (โรคแผนปัจจุบันหรือโรคแผนไทย)
1.4 ต้องมีหัตถการแพทย์แผนไทย 7 หลัก ที่ สปสช.กำหนด  ในหัวข้อนี้แต่ละสถานบริการคงต้องตรวจสอบหัตถการที่มีในสถานบริการเองว่ามีให้บริการที่เป็นรหัสของการนวด อบ ประคบ หรือไม่ ตรวจสอบรหัสได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้

2. การให้บริการกับแม่หลังคลอด
เงื่อนไขสำหรับการให้บริการแผนไทยกับหญิงหลังคลอด
2.1 หญิงหลังคลอดต้องมีสิทธิ์ UC
2.2 ต้องรับบริการภายใน 90 วันหลังคลอด เป็นรายครั้ง ไม่เกิน 5 ครั้งต่อคน
2.3 เป็น OPD case  กรณีเป็น IPD ให้บริการก่อน discharge 1 ครั้ง
2.4 เป็นเพศหญิง
2.5 ต้องมีรหัสหัตถการที่เป็นหัตถการบริการมารดาหลังคลอด
     9007712  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือที่ทั่วร่างกาย
     9007713  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการนวดที่ทั่วร่างกาย
     9007714  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการประคบสมุนไพรที่ทั่วร่างกาย
     9007716  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการอบไอน้ำสมุนไพรที่ทั่วร่างกาย
     9007730  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการปฏิบัติตัวสำหรับหลังคลอดที่ทั่วร่างกาย

3. การจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

เงื่อนไขสำหรับการจ่ายยาสมุนไพร
3.1 ต้องเป็นผู้มีสิทธิ์ UC
3.2 เป็น OPD case
3.3 ต้องมีการวินิจฉัยโรค (โรคแผนปัจจุบันหรือโรคแผนไทย)
3.4 ต้องเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่มีรหัส 24 หลักตามที่กรมการแพทย์แผนไทยรับรอง สามารถตรวจสอบได้ที่ลิงก์   http://drug.nhso.go.th/DrugCode/searchDrug.zul

หมายเหตุ
1. การให้บริการทุกครั้งควรมีการตรวจสอบสิทธิ์ก่อนให้บริการทุกครั้ง
2. สำหรับหัตถการแผนไทยที่มีให้บริการแต่ยังไม่มีในตารางรหัสใน hosxp สามารถเพิ่มหัตถการเข้าไปได้เอง อาจต้องติดต่อ IT หรือดูการเพิ่มรหัสหัตถการเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

ANC 5 ครั้ง วันที่ครบ แต่ทำไมไม่ผ่าน



      วันนี้มี รพสต. ให้ตรวจสอบข้อมูลให้หน่อย บันทึก anc ครบทั้ง 5 ครั้ง แต่ผลงานขึ้นว่าไม่ผ่าน  มาดูกันครับว่าเพราะอะไร

ก่อนอื่นมาดูเทมเพลต anc 5 ครั้งกัน (ยังใช้โครงสร้างเก่า สำหรับปีงบฯ 62)


เกณฑ์คุณภาพครั้งที่ 1 อายุ ก่อน หรือ เท่ากับ 12 สัปดาห์
เกณฑ์คุณภาพครั้งที่ 2 อายุ 18 สัปดาห์ +- 2 สัปดาห์ แสดงว่านับช่วง 16 - 20 สัปดาห์
เกณฑ์คุณภาพครั้งที่ 3 อายุ 26 สัปดาห์ +-2 สัปดาห์ แสดงว่านับช่วง 24 - 28 สัปดาห์
เกณฑ์คุณภาพครั้งที่ 4 อายุ 32 สัปดาห์ +-2 สัปดาห์ แสดงว่านับช่วง 30 - 34 สัปดาห์
เกณฑ์คุณภาพครั้งที่ 5 อายุ 38 สัปดาห์ +-2 สัปดาห์ แสดงว่านับช่วง 36 - 40 สัปดาห์


ทีนี้ให้ดาวน์โหลดไฟล์ data exchange anc5 ครั้ง จาก hdc มาดูครับ (ผมตัดเฉพาะที่พื้นที่สงสัยให้ดูนะครับ) ตามภาพ


คนแรก
anc ครั้งที่ 1 12 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ ก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์   ผ่าน
anc ครั้งที่ 2 15 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ต้องระหว่าง 16-20 สัปดาห์   ไม่ผ่าน
anc ครั้งที่ 3 27 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ต้องระหว่าง 24-28 สัปดาห์   ผ่าน
anc ครั้งที่ 4 33 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ต้องระหว่าง 30-34 สัปดาห์   ผ่าน
anc ครั้งที่ 5 37 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ต้องระหว่าง 36-40 สัปดาห์   ผ่าน
สรุปคนแรก ไม่ผ่านเพราะ ครั้งที่ 2 ไม่ผ่าน


คนที่สอง
anc ครั้งที่ 1 11 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ ก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์   ผ่าน
anc ครั้งที่ 2 15 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ต้องระหว่าง 16-20 สัปดาห์   ไม่ผ่าน
anc ครั้งที่ 3 24 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ต้องระหว่าง 24-28 สัปดาห์   ผ่าน
anc ครั้งที่ 4 33 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ต้องระหว่าง 30-34 สัปดาห์   ผ่าน
anc ครั้งที่ 5 37 สัปดาห์  เทียบกับเกณฑ์ต้องระหว่าง 36-40 สัปดาห์   ผ่าน
สรุปคนที่สอง ไม่ผ่านเพราะ ครั้งที่ 2 ไม่ผ่าน

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การตรวจสอบและเพิ่มรหัสวัคซีน ใน hosxp/hosxp_pcu





       รหัสวัคซีนที่มีการเพิ่มเติมเข้ามาระหว่างปีหรือยกเลิกรหัสวัคซีนที่ไม่ใช้แล้ว จำเป็นต้องรู้ตารางที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนเพื่อแก้ไข ได้ถูกที่ บทความนี้มาทำความรู้จักตารางวัคซีน และวิธีการเพิ่มกันครับ

ตารางวัคซีนที่เกี่ยวข้อง
Person_vaccine  ข้อมูลวัคซีนทุกตัวจะต้องใส่ไว้ในตารางนี้และเป็นรายการวัคซีนที่มีและใช้
                         ในหน้า Onestop service (วัคซีนรณรงค์)

Wbc_vaccine   เป็นรายการวัคซีนที่มีและใช้ในระบบบัญชี 3 (วัคซีนที่ให้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี)
Epi_vaccine เป็นรายการวัคซีนที่มีและใช้ในระบบบัญชี 4 (วัคซีนที่ให้ในเด็กอายุระหว่าง 1-5 ปี)
Student_vaccine เป็นรายการวัคซีนที่มีและใช้ในระบบบัญชี 5 (วัคซีนที่ให้ในเด็กนักเรียน)
Anc_service เป็นรายการวัคซีนที่มีและใช้ในระบบบัญชี 2 (วัคซีนหญิงตั้งครรภ์)
Vaccine_combination
Provis_vcctype  เป็นตารางที่เก็บรหัสส่งออกวัคซีนใน 43 แฟ้ม (ทุกวัคซีนที่จะส่งออก 43 แฟ้ม
                        ต้องบันทึกในตารางนี้)


ตารางรหัสวัคซีนมาตรฐาน (สนย.)



Person_vaccine

การเพิ่มรหัสในตารางนี้ ให้เรียงลำดับและดูคอลัมน์ person_vaccine_id ว่าเลขมากสุดเลขอะไร  แล้วกดเครื่องหมาย + ด้านล่าง ให้ใส่เลขถัดไปจากตัวเลขที่มากที่สุด
person_vaccine_id  คือเลขลำดับวัคซีน (ไม่มีผลกับการส่งออก 43 แฟ้ม)
vaccine_name คือชื่อวัคซีนตั้งชื่ออย่างไรก็ได้ที่เราเข้าใจ (ไม่มีผลกับการส่งออก 43 แฟ้ม)
vaccine_code คือรหัสวัคซีน ให้ดูจากตารางรหัสมาตรฐานของ สนย. 
vaccine_group คือรหัสกลุ่มวัคซีน (วัคซีนเดียวกันถึงจะได้รับหลายครั้งสามารถใช้กลุ่มวัคซีนเดียวกันได้
                        เช่น DTPHB1,DTPHB2,DTPHB3 สามารถตั้ง vaccine_group เป็น DTPHB ได้) ใช้สำหรับกำหนด lot วัคซีน
export_vaccine_code คือรหัสส่งออกวัคซีน ที่จะส่งออกใน 43 แฟ้ม ให้ดูจากตารางรหัสมาตรฐาน สนย. 
combine_vaccine คือเป็นการกำหนดว่าวัคซีนตัวนั้นเป็นวัคซีนผสมหรือไม่
icode คือรหัสยา ใช้สำหรับกรณีมีการตัดจ่ายวัคซีนจากรายการยา (icode จะต้องตรงกันระหว่างตารางยาและตารางวัคซีน)

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

ทำไมคัดกรอง DM HT ในผู้สูงอายุหมดแล้ว ถึงไม่ขึ้นรายงานคัดกรอง 10 โรคใน HDC


       วันนี้มี รพสต. ขอปรึกษาคีย์ผู้สูงอายุหมดแล้ว แต่ทำไมหน้ารายงานผู้สูงอายุได้รับคัดกรอง 10 โรค ใน HDC ส่วนของการคัดกรอง DM HT ยอดไม่ขยับเลย  มาดูกันครับ

ก่อนอื่นมาดูเงื่อนไขการดึงข้อมูลการก่อนครับ


เงื่อนไขการดึงรายงานคือผู้สูงอายุสัญชาติไทย(Nation in(99))   
ที่อายุมากกว่าเท่ากับ 60 ปี และ อายุน้อยกว่า 200 ปี (age_y >=60 and age_y<200)
typearea 1,3 
เลขบัตรประชาชน 13 หลัก (Length(trim(p.cid))=13 )
ยังไม่จำหน่าย (discharge in 9)

ในส่วนของการคัดกรอง DM  HT นับการคัดกรองจากแฟ้ม Ncdscreen 


ทีนี้มาดูเงื่อนไขการนับผลงานในแฟ้ม ncdscreen กันครับ
การคัดกรองความดัน
จากภาพเงื่อนไขหลักๆ คือ เลขบัตรประชาชน จะต้องไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และทั้ง 2 โรค ในฐานข้อมูลโรคเรื้อรัง (t_dmht)   ดังนั้นถ้า cid ที่บันทึกเข้ามาเป็นคนป่วยอยู่แล้วไม่ว่าจะความดันโรคเดียวหรือเป็นทั้ง 2 โรค คีย์ยังงัย หรือจะคีย์กี่ครั้ง ผลงานก็ไม่นับให้ครับ

การคัดกรองเบาหวาน

จากภาพเงื่อนไขหลักๆ จะคล้ายกับความดันคือ จะต้องไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือทั้ง 2 โรค ดังนั้นถ้า cid ที่บันทึกเข้ามาเป็นคนป่วยอยู่แล้วไม่ว่าจะเบาหวานโรคเดียวหรือเป็นทั้ง 2 โรค คีย์ยังงัย หรือจะคีย์กี่ครั้ง ผลงานก็ไม่นับให้ เช่นเดียวกับความดันครับ





วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

คัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยวิธี FIT test (workload)


              ได้รับเรื่องจาก รพสต. ให้ตรวจสอบข้อมูลคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้ที เนื่องจากบันทึก
ตามช่วงเวลาและกลุ่มเป้าหมาย แล้วข้อมูลใน HDC ขึ้นไม่ครบ

ผมขออธิบายดังนี้ครับ  รายงานข้อนี้นับจากการคัดกรองของหน่วยบริการ(workload) หรือจะพูดอีกนัยนึง
คือหน่วยบริการเป็นคนตรวจเอง  เพราะฉะนั้นจะต้องมี seq เกิดขึ้น ณ เวลารับบริการ  ดังนั้นถ้าเก็บความครอบคลุม(ไปรับบริการที่อื่นแล้วเก็บมาลง) ข้อมูลจะไม่ขึ้นในข้อนี้ ให้ไปดูในข้อความครอบคลุมครับ

เมื่อดูเงื่อนไขการนับรายงานใน HDC  อธิบายได้ตามภาพครับ  ผมจึงทำรายงานนำเข้าใน hosxp เพื่อไว้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นก่อนส่ง จะอยู่ในหมวดรายงานท่ามะกา  ตัวอย่างรายงานจะได้ตามภาพครับ



คอลัมน์หมายเหตุในรายงาน
นับผลงาน หมายถึง อายุอยู่ในช่วง 50-70 ปี เป็นคนไทย และยังไม่จำหน่าย
สิทธิ์การรักษายังไม่ได้ตรวจให้ครับ แค่แสดงให้ดูว่าใช้สิทธิ์อะไรในการคัดกรองครั้งนั้น

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

วิธีติดตั้ง HOSxPXE_PCU


         

          ในอนาคตอาจจะต้องใช้ hosxpxe_pcu แทน hosxp_pcu เดิม หน้าตาจะคล้ายๆ กับ hosxp โรงพยาบาลมีแยกกันหลายแผนก  สำหรับสถานบริการที่อยากใช้ hosxp โรงพยาบาล ใน รพสต. คงไม่มีปัญหากับหน้าตาที่เปลี่ยนไปและการใช้งาน   แต่สำหรับ รพสต ที่ต้องปรับมาใช้ตัว XE นี้ อาจจะต้องเรียนรู้กันใหม่ เพื่อรองรับระบบที่ BMS จะพัฒนาต่อไปในอนาคต  วันนี้เรามาดูวิธีติดตั้งกันครับ

1. ดาวน์โหลดตัวติดตั้ง App จาก http://dwkan.thaieasydns.com:8080/ItKAN/BMS_APP/

2. ดับเบิลคลิกที่ตัวโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมา กด YES จะขึ้นหน้าต่างตามรูป เลือก 1 และ 2 ตามลำดับ

3. App จะทำการติดตั้งโปรแกรม รอจนขึ้น done ตามรูป   ไปดูที่ desktop จะมีไอคอน hosxpxe pcu ขึ้นมา

4. คลิกขวาที่ไอคอน hosxpxe pcu เลือก run as administrator

5. ทำการเชื่อมต่อฐานข้อมูล โดยกดที่ปุ่มการเชื่อมต่อ

6. ใส่เลข IP Address ของเครื่องแม่ข่าย(ในกรอบสีแดงหมายเลข 1  2   3  4 และ 5 ตามลำดับ)
หมายเลข 2 เป็นการกำหนดให้โปรแกรมอัพเดดโปรแกรมให้อัตโนมัติเวลามีเวอร์ชั่นใหม่ๆ
หมายเลข 4 จะมีปุ่มเกิดขึ้น หลังกดปุ่มหมายเลข 3 แล้ว (รอสักพัก)

7. เข้าโปรแกรมโดยใช้ User Pass เดียวกับ hosxp/hosxppcu  
8. ทำการเลือกสาขา และแผนก



9. โปรแกรมพร้อมใช้งานแล้วครับ


สำหรับวิธีใช้จะอธิบายในบทความต่อไปครับ

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562

แฟ้ม PRENATAL และ LABOR ส่งข้อมูลไม่ออกหรือไม่ครบ ทำอย่างไรดี




            เคยสังเกตจำนวนแฟ้ม LABOR หรือ PRENATAL ใน HDC กันหรือป่าวครับ ว่าตรงกับข้อมูลที่เราทำรายงานมือหรือไม่  บางแห่งแทบไม่มีคนคลอดเลยตั้งแต่ ต.ค.61 มา  และประกอบกับการตรวจ error ของแฟ้ม PRENATAL ที่ส่งออกผล lab ของหญิงตั้งครรภ์ออกมาเป็นรหัส 9 (ไม่ทราบ)  ซึ่งมีผลกับการจัดสรรเงินตามเกณฑ์ Free schedule ของ สปสช นั้น   จากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำให้ทราบว่า เกิดจากเวอร์ชั่นของ HIS เอง ทำให้ทั้งสองแฟ้ม ข้อมูลไม่ถูกส่งออกหรือส่งออกแต่ไม่ครบ วันนี้เราลองมาดูวิธีการส่งออกดูครับ 

จากรูปจะเห็นว่า สปสช ต้องการผล LAB ANC จำนวน 5 รายการ คือ Hct  , Thalassemia ,VDRL , HBsAg , HIV  ซึ่งตรงกับโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้ม แฟ้ม PRENATAL  และผล LAB ต้องเป็นค่า(1=ปกติ   2=ผิดปกติ  และ 4=รอผลตรวจ)   ถ้ามีรหัส 9=ไม่ทราบ ใน record ใด จะไม่ได้รับการพิจารณาจัดสรรเงิน




ขั้นตอนการส่ง
1. ดาวน์โหลดเวอร์ชั่น hosxp_pcu เวอร์ชั่นล่าสุด จาก http://cloud2.hosxp.net/
    หรือ hosxpxe_pcu จาก BMSHOSxPXE4CloudApplicationInstaller.exe
2. ปรับปรุงโครงสร้างเพื่อให้ลองรับการทำงานกับเวอร์ชั่นใหม่ๆ
3. เข้าหน้าบัญชี 2 >> ดับเบิลคลิกรายชื่อหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการจะส่งออก >> ทำการติ๊กบังคับส่งออกและระบุวันส่งออกตามภาพ>> กดบันทึก


4. ส่งออก 43 แฟ้ม โดยระบุช่วงที่ส่งออกเป็นวันที่บังคับส่งออก
5. เมื่อส่งเสร็จให้ดูที่แฟ้ม PRENATAL และ LABOR มีข้อมูลส่งออกมาหรือไม่



ขั้นตอนการบันทึก LAB Thalassemia  ในแฟ้ม Prenatal


LAB อื่นๆ ในแฟ้ม Prenatal


หมายเหตุ
มีค่าผล lab และติ๊กถูกใน check box ผลปกติ    ผลการส่งจะส่งออกมาเป็นเลข 1=ปกติ    
มีค่าผล lab แต่ไม่ติ๊กถูกใน check box ผลปกติ (ปล่อยว่าง) ผลการส่งจะส่งออกมาเป็นเลข 2=ผิดปกติ

ผล LAB Hct ให้ใส่เฉพาะตัวเลข ห้ามมีเครื่องหมาย %  จะทำให้ข้อมูลส่งออกมาเป็นค่าว่าง


ร้อยละของเด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก


              มีสถานบริการถามผมมาว่า ทำไมบันทึกยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแล้วผลงานไม่ขึ้นใน HDC ก่อนอื่นมาดูเทมเพลตของรายงานตัวนี้กันก่อนครับ เทมเพลตบอกไว้ว่า
กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน - <72 เดือน (ณ วันรับบริการ)  ที่มารับบริการวัคซีน
ตัวหาร (ฺB) คือ จำนวนเด็กกลุ่มนี้ ที่มารับบริการวัคซีนในแต่ละไตรมาส (ไม่นับอายุ 72 เดือน)
ตัวตั้ง (A) คือ จำนวนเด็กกลุ่มนี้ ที่ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในแต่ละไตรมาส

ดังนั้นแฟ้มที่เกี่ยวข้องกับรายงานตัวนี้ คือ PERSON  EPI และ DRUG_OPD
             แฟ้ม PERSON จะใช้ HOSPCODE+PID ในการเชื่อมโยงงานบริการกับแฟ้ม EPI  นับผลงานเฉพาะคนไทย  โดยแฟ้ม EPI  จะต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
            1.วันรับบริการ (date_serv) อยู่ระหว่างปีงบประมาณ
            2. เลขที่รับบริการ (seq) ต้องไม่เป็นค่าว่าง คือจะต้องมีการให้บริการ ไม่นับรวมเก็บความครอบคลุม
            3. สถานที่รับบริการ (vaccineplace) จะต้องตรงกับ สถานบริการที่ส่งข้อมูล (hospcode) เป็นการบ่งบอกว่าสถานบริการที่ส่งข้อมูลเป็นสถานบริการที่ให้บริการ
            4. ต้องเชื่อมโยงกับแฟ้ม DRUG_OPD ที่ PID และ SEQ ตรงกับแฟ้ม EPI
            5. รหัสยาเสริมธาตุเหล็ก (DIDSTD) 19 หลัก จะต้องอยู่ในรายการที่กำหนด ('1004890000008103305' , '1004890000009501305' , '1004974140020403305' , '1004974140008008305'
,'1004890000009507305' , '2020301200871801305' , '1004880000086342304' , '1004880000012801308'
,'1004880000042031217' , '1004880000012801304')