วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566

การตั้งค่างานระบาดวิทยาในระบบ HOSxPXE_PCU

 1. การตั้งค่าผู้ใช้งานเพื่อให้ได้รับสิทธิในการส่งข้อมูลรายงานระบาด (ประสานที่ผู้ดูแลระบบของจังหวัด

ที่ท่านสังกัด) ที่เว็บ https://cvp1.moph.go.th/accountcenter

>>แจ้งประสานให้กำหนดสิทธิตามกลุ่มงานระบาดวิทยาประจำหน่วยบริการ


2. เข้าที่เมนูการใช้งาน โดยคลิกที่ OPD Registry >> EPIDEM


3. การใช้งานครั้งแรกให้ปรับปรุงข้อมูลพื้นฐานงานระบาดก่อน โดยคลิกที่ข้อมูลพื้นฐาน(Cloud) จะมีหน้าต่างตารางที่เกี่ยวข้องขึ้นมา ให้ตอบยืนยัน >>รอจนขึ้น update ข้อมูลสำเร็จ



4. คลิกที่ Tool >>SQL Query 

ค้นหาตาราง surveil_metropol กำหนดค่าในฟิล์ด export โดยอ้างอิงรหัสด้านล่าง  เมื่อกำหนดแล้วให้คลิกปุ่ม update ด้านบน
1=เขตเทศบาล  2=อบต.  3=ไม่ทราบ

5.ปรับข้อมูลในตาราง sys_var ซึ่งจะต้องทำการปรับดังนี้ 
5.1 copy คำสั่ง select * from sys_var where lower(sys_name) like '%epidem-send%'  ไปวางใน sql query  คลิกปุ่ม RUN 

กำหนดค่าEPIDEM-SEND-COVID-CHECK’ = ‘Y’ เพื่อให้ส่งรายงานโรค COVID  
กำหนดค่าEPIDEM-SEND-506-CHECK = ‘Y’ เพื่อส่งรายงานทุกกลุ่มไปยังกองระบาด 
กำหนดค่าEPIDEM-SEND-PRODUCTION-CHECK = ‘N’ กรณีที่ยังไม่มีประกาศให้ส่งข้อมูลจริง




6. คลิกที่ Tool >>SQL Query 
ค้นหาตาราง report506status กำหนดค่ามาตรฐานสภาพผู้ป่วยตามรหัส506 ในช่อง export_code
โดยอ้างอิงรหัสดังนี้ เมื่อใส่แล้วให้คลิกปุ่ม update ด้านบน
1 = หาย, 2 = ตาย, 3 = ยังรักษาอยู่,4 = ไม่ทราบ


7. คลิกที่ Tool >>SQL Query 
ค้นหาตาราง marrystatusกำหนดค่ามาตรฐานสภาพผู้ป่วยตามรหัส506 ในช่อง code506
โดยอ้างอิงรหัสดังนี้ เมื่อใส่แล้วให้คลิก update ด้านบน
1 = โสด, 2 = คู่,3 = หย่า แยก, 4 = หม้าย, 5 = ไม่ทราบ




เปิดช่องทางการเชื่อมต่อฐานข้อมูล(port3306) โดยไม่ต้องปิด Firewall


ปัญหาที่พบ : เครื่องลูกข่ายเชื่อมต่อเครื่องแม่ข่ายไม่ได้ (เป็นทุกเครื่อง) แต่เครื่องแม่ใช้งานได้ปกติ

วิธีแก้ไข : ให้ปิด firewall ของเครื่องแม่ หรือทำตามวิธีที่จะแนะนำต่อไปนี้  โดยไม่ต้องปิด firewall (ทำครั้งเดียว)

1. เข้า control panel  เลือก small icon >>windows defender firewall

2. คลิกที่ advance setting


3. คลิกตามรูป



4.คลิก port >>next


5. พิมพ์ 3306 ตามภาพ >>next


6. คลิก next


7. คลิก next


8. ตั้งชื่อ port >>finish


9. ทดสอบการเชื่อมต่อจากเครื่องลูกใหม่


















วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566

ฝากครรภ์คุณภาพ 8 ครั้งตามเกณฑ์ และการตรวจสอบการจำหน่ายการตั้งครรภ์ออกจากทะเบียน

 ตารางเปรียบเทียบ ANC คุณภาพ 5 ครั้งและ 8 ครั้งตามเกณฑ์ HDC












การปรับตาราง Lookup ใน HOSxPXE_PCU
1. คลิกที่เมนู Tool >> Sql Query  ค้นหาตาราง person_anc_preg_week  กด run
2. ทำการปรับเกณฑ์คุณภาพและเพิ่มรายการที่ 6-8 ตามภาพ จากนั้นให้คลิกเครื่องหมายถูกด้านล่าง และคลิกปุ่ม Update ด้านบน ให้ขึ้นคำว่า Done


3. เข้าไปที่บัญชี 2 โดยคลิกที่เมนู PCU >> Account2  >>คลิกปุ่ม Recalc ด้านล่างเพื่อปรับผลงานตามเกณฑ์คุณภาพต่อไป




ตรวจสอบข้อมูลบัญชี 2

1.นำคำสั่งด้านล่างไปวางใน sql กด run

select a.person_id,concat(p.pname,p.fname," ",p.lname) fname,a.lmp,a.edc,timestampdiff(week,a.edc,curdate()) age_week,a.labor_date 
,a.discharge,a.discharge_date ,a.force_labor_complete_export,a.force_labor_complete_date
from person_anc  a
inner join person p on a.person_id=p.person_id
where a.discharge<>"Y" and timestampdiff(week,a.edc,curdate())>40



เงื่อนไขการดึงรายงาน คือดึงรายชื่อที่ยังไม่จำหน่ายออกจากทะเบียน และอายุครรภ์นับถึงวันที่ปัจจุบันอายุเกิน 40 สัปดาห์
lmp = วันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
edc = วันกำหนดคลอด
age_week = อายุครรภ์(สัปดาห์) โดยคำนวณกับวันที่ปัจจุบันอายุครรภ์เกิน 40 สัปดาห์
labor_date = วันคลอด
discharge = Y คือจำหน่ายแล้ว 
discharge_date = วันที่จำหน่าย
force_labor_complete_export = ส่งข้อมูลออก 43 แฟ้ม   Y คือส่งออก 43 แล้ว



การจำหน่ายออกจากทะเบียนในบัญชี 2

หลังจากที่ข้อมูลการฝากครรภ์ครบถ้วน และมีการลงวันคลอดเรียบร้อยแล้ว ให้ติ๊กส่งออก 43 แฟ้มและวันส่งออกด้านล่าง(ตามรูป)



และหลังจากที่มีการเยี่ยมหลังคลอดเรียบร้อยแล้ว ให้ติ๊กจำหน่ายผู้ป่วยออก เพื่อจำหน่ายออกจากบัญชี






วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562

บันทึก Urine Macro Albumin หน้าบัญชี 1 ส่งไม่ออกทำอย่างไรดี


    เคยเจอกันบ้างรึป่าวครับ บันทึกผล Urine Macro Albumin หน้าบัญชี 1 เพื่อเก็บความครอบคลุม แต่เวลาส่งออก 43 แฟ้ม พบว่าในแฟ้ม LABFU ไม่มีรหัส LAB 0440203(Urine Macro Albumin) ส่งออกมา มาดูวิธีการแก้ไขกันครับ

1.ให้เปิด Tool ส่งออก 43 แฟ้มแล้วไปที่หน้าส่งออก 43 แฟ้ม
2. คลิกที่แท็บ Data Mapping 1 และ 2 ตามภาพ


3. คลิกที่ dropdown ด้านบน เลื่อนให้เจอปุ่ม LAB Value Map ตามภาพ

4. กดปุ่ม เพิ่ม ด้านบน หา LAB Urine Macro Albumin (แล้วแต่ตั้งชื่อในแต่ละสถานบริการ)

5. ตั้งค่าผล LAB ตามภาพ กดบันทึก

6. ลองบันทึกค่าผล lab หน้าบัญชี 1 ตามปกติ

7. ลองส่งออก 43 แฟ้มดูครับ ส่งเสร็จแฟ้ม LABFU จะต้องมีรหัส 0440203 ส่งออกมา







วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

รายงานจำนวนผู้รับบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่จำแนกตามกลุ่มผู้รับบริการ


     คงต้องมาศึกษากันถึงรายละเอียดการนับรายงานในข้อนี้ เพราะถ้าไม่ศึกษาอาจจะต้องมีคำถามต่อมาภายหลังว่า ทำไมฉีดไปแล้วผลงานไม่ขึ้น ทำถูกต้องหมดทุกอย่างแล้ว จะให้ทำยังงัยอีก 5555 รายงานในข้อนี้แยกออกได้เป็น 7 กลุ่มดังนี้

กลุ่มเป้าหมาย นับจากผู้รับบริการที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่รหัส 815

1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
      จะให้ผลงานขึ้นในข้อนี้ คนที่ได้รับการฉีดจะต้องมีชื่ออยู่ในแฟ้ม PROVIDER ของหน่วยบริการ (ลองให้ไอทีตรวจสอบครับว่าข้อมูลที่จำเป็นต้องมี บันทึกกันครบแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ครบถ้วนข้อมูลจะไม่ถูกส่งออก อาจมีผลตามมาว่าฉีดแล้วทำไมถึงไม่ขึ้น

2.หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
      ในข้อนี้หญิงตั้งครรภ์จะต้องมีข้อมูลในแฟ้ม ANC ด้วย และจะเอา GA มาคำนวณหาผลต่าง นับอายุครรภ์ที่ 4 เดือน ถึง 10 เดือน

3.กลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 2 ปี
      กลุ่มนี้นับอายุ ณ วันรับบริการ มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 35 เดือน

4.กลุ่มโรคเรื้อรัง
     ในกลุ่มนี้คงต้องเอาผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคต่อไปนี้เข้าในทะเบียนคลินิกพิเศษ เพราะนับรายงานจากผู้ป่วยที่มีชื่ออยู่ในแฟ้ม CHRONIC และ DATE_DX (วันที่ตรวจพบครั้งแรก) ก่อนวันให้บริการวัคซีน
4.1 ปอดอุดกั้นเรื้อรัง รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก =J44
4.2 หอบหืด รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก =J45
4.3 หัวใจ  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง I20 ถึง I25
4.4 หลอดเลือดสมอง  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง I60 ถึง I69
4.5 ไตวาย  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง N17 ถึง N19
4.6 ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด  เคยมีการวินิจฉัยในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง C00 ถึง C97 และวันที่วินิจฉัยต้องก่อนหรือเท่ากับวันรับบริการวัคซีน (คีย์รหัส C ในวันที่รับบริการวัคซีนได้)
4.7 เบาหวาน   รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง E10 ถึง E14
4.8 ธาลัสซีเมีย  เคยมีการวินิจฉัยในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก =D56 และวันที่วินิจฉัยต้องก่อนหรือเท่ากับวันรับบริการวัคซีน (คีย์รหัส C ในวันที่รับบริการวัคซีนได้) 
4.9 HIV  เคยมีการวินิจฉัยในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD  รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง B20 ถึง B24   หรือ รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง D80 ถึง D89 และวันที่วินิจฉัยต้องก่อนหรือเท่ากับวันรับบริการวัคซีน (คีย์รหัส C ในวันที่รับบริการวัคซีนได้) 

5. ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป (ไม่นับ  65 ปี)
    กลุ่มนี้นับอายุ ณ วันรับบริการ มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

6. ผู้พิการทางสมอง
    ผู้รับบริการกลุ่มนี้ต้องมีชื่อในแฟ้ม DISABILLITY ประเภทความพิการอยู่ในกรอบสีแดง


7. ผู้ป่วยโรคอ้วน
    กลุ่มนี้มีการใช้ 2 แฟ้มร่วมด้วยคือ DIAGNOSIS_OPD คือ เป็นผู้ที่เคยมีการวินิจฉัยโรคด้วยรหัส 3 ตัวแรกขึ้นต้นด้วย E66  และแฟ้ม NCDSCREEN  โดยดูที่น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ ค่า BMI >35 

กลุ่มอื่นๆ
   คือผู้ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่อยู่ในกลุ่มที่กล่าวมาทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการรณรงค์วัคซีนไข้หวัดใหญ่



   ก่อนการรณรงค์และให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ลองมาตรวจสอบรหัสวัคซีนกันครับ ว่าพร้อมแล้วหรือยัง ตารางที่ใช้คือ person_vaccine  รหัสวัคซีนตัวที่จะใช้รณรงค์คือ 815




สำหรับหน้าจอบริการที่จะใช้บันทึก สำหรับ PCU จะเป็นหน้า onestop service  แต่ก่อนให้บริการควรบันทึกข้อมูล lot วัคซีนให้เรียบร้อยก่อน โดยไปที่


 หลังจากบันทึก lot no. เรียบร้อยแล้ว ให้เรียกคนไข้เข้ารับบริการ ใส่รหัสการวินิจฉัยให้เรียบร้อย (ICD10 = Z251) เป็น priciple dx  จากนั้นให้คลิกที่ tab vaccine  ใส่ข้อมูลวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และกดบันทึกให้บริการ

หลังจากที่บันทึกคนรับบริการหมดแล้ว ทีนี้ก็ส่ง 43 แฟ้มปกติ ให้ตรวจสอบข้อมูลในแฟ้ม diagnosis_opd และ แฟ้ม epi หลังส่งเสร็จ ว่ามีข้อมูลส่งออกมาครบหรือไม่







วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กองทุนแผนไทย สปสช เขาจ่ายเงินจากการให้บริการอะไรบ้าง


     จบไปอีก 1 ปี สำหรับปีงบประมาณ สปสช ในปีงบฯ 62 เริ่มจะเห็นมีการปรับตัวกันบ้างกับการให้บริการแผนไทย เพื่อขอเงินชดเชยในการให้บริการ  โดยข้อมูลที่จะได้รับจัดสรรเงิน ขึ้นอยู่กับข้อมูล 43 แฟ้ม ที่ส่งเข้าเว็บ https://op.nhso.go.th/op/main/MainWebAction.do   ไม่ใช่ข้อมูลที่ขึ้นหน้ารายงาน HDC  แต่ รายงานหน้า HDC สามารถทำให้เรา monitor ข้อมูลได้ว่าผลงานเป็นอย่างไร ก่อนส่งเข้า สปสช ทีนี้มาดูกันว่า สปสช เขาจ่ายเงินจากการให้บริการอะไรบ้าง

1. การให้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร

เงื่อนไขสำหรับการให้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร
1.1 ต้องเป็นผู้มีสิทธิ์ UC 
1.2 เป็น OPD Case รวมถึงการให้บริการในชุมชน 
1.3 มีการวินิจฉัยโรค (โรคแผนปัจจุบันหรือโรคแผนไทย)
1.4 ต้องมีหัตถการแพทย์แผนไทย 7 หลัก ที่ สปสช.กำหนด  ในหัวข้อนี้แต่ละสถานบริการคงต้องตรวจสอบหัตถการที่มีในสถานบริการเองว่ามีให้บริการที่เป็นรหัสของการนวด อบ ประคบ หรือไม่ ตรวจสอบรหัสได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้

2. การให้บริการกับแม่หลังคลอด
เงื่อนไขสำหรับการให้บริการแผนไทยกับหญิงหลังคลอด
2.1 หญิงหลังคลอดต้องมีสิทธิ์ UC
2.2 ต้องรับบริการภายใน 90 วันหลังคลอด เป็นรายครั้ง ไม่เกิน 5 ครั้งต่อคน
2.3 เป็น OPD case  กรณีเป็น IPD ให้บริการก่อน discharge 1 ครั้ง
2.4 เป็นเพศหญิง
2.5 ต้องมีรหัสหัตถการที่เป็นหัตถการบริการมารดาหลังคลอด
     9007712  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือที่ทั่วร่างกาย
     9007713  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการนวดที่ทั่วร่างกาย
     9007714  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการประคบสมุนไพรที่ทั่วร่างกาย
     9007716  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการอบไอน้ำสมุนไพรที่ทั่วร่างกาย
     9007730  การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการปฏิบัติตัวสำหรับหลังคลอดที่ทั่วร่างกาย

3. การจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

เงื่อนไขสำหรับการจ่ายยาสมุนไพร
3.1 ต้องเป็นผู้มีสิทธิ์ UC
3.2 เป็น OPD case
3.3 ต้องมีการวินิจฉัยโรค (โรคแผนปัจจุบันหรือโรคแผนไทย)
3.4 ต้องเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่มีรหัส 24 หลักตามที่กรมการแพทย์แผนไทยรับรอง สามารถตรวจสอบได้ที่ลิงก์   http://drug.nhso.go.th/DrugCode/searchDrug.zul

หมายเหตุ
1. การให้บริการทุกครั้งควรมีการตรวจสอบสิทธิ์ก่อนให้บริการทุกครั้ง
2. สำหรับหัตถการแผนไทยที่มีให้บริการแต่ยังไม่มีในตารางรหัสใน hosxp สามารถเพิ่มหัตถการเข้าไปได้เอง อาจต้องติดต่อ IT หรือดูการเพิ่มรหัสหัตถการเพิ่มเติม