วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
รายงานจำนวนผู้รับบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่จำแนกตามกลุ่มผู้รับบริการ
คงต้องมาศึกษากันถึงรายละเอียดการนับรายงานในข้อนี้ เพราะถ้าไม่ศึกษาอาจจะต้องมีคำถามต่อมาภายหลังว่า ทำไมฉีดไปแล้วผลงานไม่ขึ้น ทำถูกต้องหมดทุกอย่างแล้ว จะให้ทำยังงัยอีก 5555 รายงานในข้อนี้แยกออกได้เป็น 7 กลุ่มดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย นับจากผู้รับบริการที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่รหัส 815
1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
จะให้ผลงานขึ้นในข้อนี้ คนที่ได้รับการฉีดจะต้องมีชื่ออยู่ในแฟ้ม PROVIDER ของหน่วยบริการ (ลองให้ไอทีตรวจสอบครับว่าข้อมูลที่จำเป็นต้องมี บันทึกกันครบแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ครบถ้วนข้อมูลจะไม่ถูกส่งออก อาจมีผลตามมาว่าฉีดแล้วทำไมถึงไม่ขึ้น
2.หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
ในข้อนี้หญิงตั้งครรภ์จะต้องมีข้อมูลในแฟ้ม ANC ด้วย และจะเอา GA มาคำนวณหาผลต่าง นับอายุครรภ์ที่ 4 เดือน ถึง 10 เดือน
3.กลุ่มเด็ก 6 เดือน ถึง 2 ปี
กลุ่มนี้นับอายุ ณ วันรับบริการ มีอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 35 เดือน
4.กลุ่มโรคเรื้อรัง
ในกลุ่มนี้คงต้องเอาผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคต่อไปนี้เข้าในทะเบียนคลินิกพิเศษ เพราะนับรายงานจากผู้ป่วยที่มีชื่ออยู่ในแฟ้ม CHRONIC และ DATE_DX (วันที่ตรวจพบครั้งแรก) ก่อนวันให้บริการวัคซีน
4.1 ปอดอุดกั้นเรื้อรัง รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก =J44
4.2 หอบหืด รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก =J45
4.3 หัวใจ รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง I20 ถึง I25
4.4 หลอดเลือดสมอง รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง I60 ถึง I69
4.5 ไตวาย รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง N17 ถึง N19
4.6 ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด เคยมีการวินิจฉัยในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง C00 ถึง C97 และวันที่วินิจฉัยต้องก่อนหรือเท่ากับวันรับบริการวัคซีน (คีย์รหัส C ในวันที่รับบริการวัคซีนได้)
4.7 เบาหวาน รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง E10 ถึง E14
4.8 ธาลัสซีเมีย เคยมีการวินิจฉัยในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก =D56 และวันที่วินิจฉัยต้องก่อนหรือเท่ากับวันรับบริการวัคซีน (คีย์รหัส C ในวันที่รับบริการวัคซีนได้)
4.9 HIV เคยมีการวินิจฉัยในแฟ้ม DIAGNOSIS_OPD รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง B20 ถึง B24 หรือ รหัสการวินิจฉัย 3 หลักแรก มีค่าระหว่าง D80 ถึง D89 และวันที่วินิจฉัยต้องก่อนหรือเท่ากับวันรับบริการวัคซีน (คีย์รหัส C ในวันที่รับบริการวัคซีนได้)
5. ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป (ไม่นับ 65 ปี)
กลุ่มนี้นับอายุ ณ วันรับบริการ มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
6. ผู้พิการทางสมอง
ผู้รับบริการกลุ่มนี้ต้องมีชื่อในแฟ้ม DISABILLITY ประเภทความพิการอยู่ในกรอบสีแดง
7. ผู้ป่วยโรคอ้วน
กลุ่มนี้มีการใช้ 2 แฟ้มร่วมด้วยคือ DIAGNOSIS_OPD คือ เป็นผู้ที่เคยมีการวินิจฉัยโรคด้วยรหัส 3 ตัวแรกขึ้นต้นด้วย E66 และแฟ้ม NCDSCREEN โดยดูที่น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ ค่า BMI >35
กลุ่มอื่นๆ
คือผู้ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไม่อยู่ในกลุ่มที่กล่าวมาทั้งหมด
วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
เตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการรณรงค์วัคซีนไข้หวัดใหญ่
ก่อนการรณรงค์และให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ลองมาตรวจสอบรหัสวัคซีนกันครับ ว่าพร้อมแล้วหรือยัง ตารางที่ใช้คือ person_vaccine รหัสวัคซีนตัวที่จะใช้รณรงค์คือ 815
สำหรับหน้าจอบริการที่จะใช้บันทึก สำหรับ PCU จะเป็นหน้า onestop service แต่ก่อนให้บริการควรบันทึกข้อมูล lot วัคซีนให้เรียบร้อยก่อน โดยไปที่
หลังจากบันทึก lot no. เรียบร้อยแล้ว ให้เรียกคนไข้เข้ารับบริการ ใส่รหัสการวินิจฉัยให้เรียบร้อย (ICD10 = Z251) เป็น priciple dx จากนั้นให้คลิกที่ tab vaccine ใส่ข้อมูลวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และกดบันทึกให้บริการ
หลังจากที่บันทึกคนรับบริการหมดแล้ว ทีนี้ก็ส่ง 43 แฟ้มปกติ ให้ตรวจสอบข้อมูลในแฟ้ม diagnosis_opd และ แฟ้ม epi หลังส่งเสร็จ ว่ามีข้อมูลส่งออกมาครบหรือไม่
วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
กองทุนแผนไทย สปสช เขาจ่ายเงินจากการให้บริการอะไรบ้าง
จบไปอีก 1 ปี สำหรับปีงบประมาณ สปสช ในปีงบฯ 62 เริ่มจะเห็นมีการปรับตัวกันบ้างกับการให้บริการแผนไทย เพื่อขอเงินชดเชยในการให้บริการ โดยข้อมูลที่จะได้รับจัดสรรเงิน ขึ้นอยู่กับข้อมูล 43 แฟ้ม ที่ส่งเข้าเว็บ https://op.nhso.go.th/op/main/MainWebAction.do ไม่ใช่ข้อมูลที่ขึ้นหน้ารายงาน HDC แต่ รายงานหน้า HDC สามารถทำให้เรา monitor ข้อมูลได้ว่าผลงานเป็นอย่างไร ก่อนส่งเข้า สปสช ทีนี้มาดูกันว่า สปสช เขาจ่ายเงินจากการให้บริการอะไรบ้าง
1. การให้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร
เงื่อนไขสำหรับการให้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร
1.1 ต้องเป็นผู้มีสิทธิ์ UC
1.2 เป็น OPD Case รวมถึงการให้บริการในชุมชน
1.3 มีการวินิจฉัยโรค (โรคแผนปัจจุบันหรือโรคแผนไทย)
1.4 ต้องมีหัตถการแพทย์แผนไทย 7 หลัก ที่ สปสช.กำหนด ในหัวข้อนี้แต่ละสถานบริการคงต้องตรวจสอบหัตถการที่มีในสถานบริการเองว่ามีให้บริการที่เป็นรหัสของการนวด อบ ประคบ หรือไม่ ตรวจสอบรหัสได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
2. การให้บริการกับแม่หลังคลอด
เงื่อนไขสำหรับการให้บริการแผนไทยกับหญิงหลังคลอด
2.1 หญิงหลังคลอดต้องมีสิทธิ์ UC
2.2 ต้องรับบริการภายใน 90 วันหลังคลอด เป็นรายครั้ง ไม่เกิน 5 ครั้งต่อคน
2.3 เป็น OPD case กรณีเป็น IPD ให้บริการก่อน discharge 1 ครั้ง
2.4 เป็นเพศหญิง
2.5 ต้องมีรหัสหัตถการที่เป็นหัตถการบริการมารดาหลังคลอด
9007712 การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือที่ทั่วร่างกาย
9007713 การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการนวดที่ทั่วร่างกาย
9007714 การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการประคบสมุนไพรที่ทั่วร่างกาย
9007716 การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการอบไอน้ำสมุนไพรที่ทั่วร่างกาย
9007730 การบริบาลหญิงหลังคลอดด้วยการปฏิบัติตัวสำหรับหลังคลอดที่ทั่วร่างกาย
3. การจ่ายยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
เงื่อนไขสำหรับการจ่ายยาสมุนไพร
3.1 ต้องเป็นผู้มีสิทธิ์ UC
3.2 เป็น OPD case
3.3 ต้องมีการวินิจฉัยโรค (โรคแผนปัจจุบันหรือโรคแผนไทย)
3.4 ต้องเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่มีรหัส 24 หลักตามที่กรมการแพทย์แผนไทยรับรอง สามารถตรวจสอบได้ที่ลิงก์ http://drug.nhso.go.th/DrugCode/searchDrug.zul
หมายเหตุ
1. การให้บริการทุกครั้งควรมีการตรวจสอบสิทธิ์ก่อนให้บริการทุกครั้ง
2. สำหรับหัตถการแผนไทยที่มีให้บริการแต่ยังไม่มีในตารางรหัสใน hosxp สามารถเพิ่มหัตถการเข้าไปได้เอง อาจต้องติดต่อ IT หรือดูการเพิ่มรหัสหัตถการเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)